วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ไวรัสคอมพิวเตอร์

  ไวรัสคอมพิวเตอร์(computer virus) หรือเรียกสั้นๆว่า ไวรัส คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่บุกรุกเข่าไปในเครื่องคอมพิวเตอร์โดยไม่ไดรับความยินยอมจากผู้ใช้ ส่วนมากมักจะพัฒนาขึ้นเพื่อสร้างความเสียหายให้กับระบบของเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นๆ ซึ่งไวรัสแบ่งออกเป็น 6 ประการ ดังนี้
     1.ไวรัสพาราสิต (parasitic virus) ไวรัสประเภทนี้จะเริ่มทำงานและจำลองตัวเองเมื่อมีการเรียกใช้งานไฟล์ที่ติดไวรัส ไวรัสคอมพิวเตอร์โดยส่วนมากจะเป็นประเภทนี้
     2.ไวรัสบูตเซกเตอร์ (boot sector virus) ไวรัสประเภทนี้จะฝังตัวลงไปในบูตเซกเตอร์ แทนที่คำสั่งที่ใช้ในการเริ่มต้นการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ เมื่อเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นใช้งาน ไวรัสประเภทนี้จะโหลดตัวเองเข้าไปในหน่วยความจำก่อนที่จะโหลดระบบปฎิบัติการ หลังจากนั้นจะสำเนาตัวเองไปฝังอยู่กับไฟล์อื่นๆ ด้วย
    3.ไวรัสสเตลท์(stealth virus) ไวรัสประเภทนี้เป็นไวรัสที่มีความสามารถเปลี่ยนแปลงตัวเองให้อยู่ในรูปแบบที่โปรแกรมป้องการไวรัสต่างๆตรวจไม่พบ และเมื่อไปติดกับโปรแกรมใดแล้วจะทำให้โปรแกรมนั้นมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ
    4.ไวรัสพลีมอร์ฟิก (polymorphic virus) ไวรัสประเภทนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงตัวเองทุกครั้งที่ติต่อไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะส่งผลให้ไวรัสประเภทนี้ตรวจพบได้ยาก
    5.ไวรัสแมโคร(macro virus) ไวรัสประเภทนี้มีผลกับ MACRO APPLICATION (มักจะพบในโปรแกรมประเภท Word Processors)เมื่อผู้ใช้เรียกใช้ไฟล์ที่มีไวรัสติดมาด้วย จะทำให้ไวรัสไปฝังตัวอยู่ที่หน่วยความจำจนเต็ม ซึ่งจะทำให้การทำงานของคอมพิวเตอร์ช้าลง และอาจส่งผลเสียให้กับข่อมูลที่เก็บอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ได้
    6.หนอนอินเทอร์เน็ต (worms) เป็นไวรัสคอมพิวเตอร์ขนิดหนึ่งที่จะติดต่อกันได้ทางอินเตอร์เน็ตสารถแพร่กระจายได้อย่ารงรวดเร็ว แล้วไวรัสชนิดนี่จะคักลอกตัวเองซ้ำแล้วใช้ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเป็นสื่อในการแพร่กระจายซึ่งโดยทั่วไปจะมากับอีเมล ตัวอย่างของหนอนอินเตอร์เน็ต คือ Abore โดยจะทำการค้นหาเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีระบบปฎิบัติการ Linux หลังจากนั้นจะสร้างซ่องทางในคอมพิวเตอร์เพื่อแฮกเกอร์(Hacker) สามารถเข้าไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นได้

                         ที่มา : หนังสือเรียน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ม.2


วันจันทร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2558

สู้เพื่อแม่

                                                 สู้เพื่อแม่


                   ในวันที่ 12 สิงหาคมที่จะมาถึงนี้ ทุกคนต่างก้รู้ว่าเป้นวันอะไร ใช่!!มันคือวันแม่นั่นเองคำว่า ''แม่'' นั้นมีความหมายที่ลึกซึ้งมาก  จนทำให่้ใครหลายคนถึงกับร้องให้ได้ เพราะว่าแม่เป้นผู้ กำเนิดชีวิตเรา เป็นผู้ให้ชีวิตเรา เป้นผู้เลี้ยงดูแลเรา กว่าเราจะเกิดมาเป็นมนุษย์ เรานั้นอยู่ในท้องของแม่มาเป็นเวลา  9  เดือน  แม่นั้ต้องลำบากที่จะต้องอุ้มท้องเรา  เวลาจะลุกจะจะเดินก็ลำบาก เจ็บก็เจ็บท้องแต่แม่ก็ต้องทนเจ็บจนคลอดเรามา ความดีใจของแม่ต้องที่ต้องการคำๆหนึ่งที่ออกมาจากปากของหมอ คำๆนั้นก็คือคำว่า  ''ครบ'' ซึ่งคำๆนี้สามาทรสร้างความดีใจให้กับแม่ของเราได้ ตลอดจากที่เราเป็นเด็ก มาจนถึงปัจจุบัน  แม่ของเรานั้นได้เลี้ยงดูแลเรา สอนให้เราเป็นคนดี  ไม่เกเร ตั้งใจเรียนหนังสือ  แต่ถึงแม้  เราจะทำผิดไปมาก หลายต่อหลายครั้ง แม่ของเราก้ยังให้อภัยเราเสมอ เวลาแม่ตีลูกเพราะลูกทำผิด แต่หลายคนคงคิดว่านั่นคือการทำโทษที่แม่ไม่รู้สึกอะไร แต่ไม่เลย เวลาที่แม่ตีนั้นแม่ก็รู้สึกเจ็บเหมือน  กัน เพราะคำว่า รัก นั้นมันค้ำคออยู่  ในใจของแม่น้ันก้อยากจะถนุดถนอมเรา เวลาเราป่วยแม่ก็ช่วยดูแล รักษาเรา  โดยการพาไปหาหมอ  เอายามาให้กิน  คอยดุแลเช็ดเนื้อเช็ดตัวให้เรา  นั่นคือการกระทำที่เป็นห่วงของผู้เป็นแม่ แต่ในวันนี้ลูกของแม่จะเป็นคนใหม่ ตั้งใจเรียนหนังสือ แต่ถ้าได้มีโอกาสตอบแทน  พระคุณของแม่ ลุกก็จะทำ จะดูแลแม่จนถึงที่สุดเท่าที่แม่นั้นได้เลี้ยงดูแลเรามา แม่ว่าจะเป้นเพียงสิ่ง  เล็กน้อยแต่ถ้าเทียบกับสิ่งที่แม่นั้นทำให้เรา มันมากมายมาก  และสุดท้ายนั้ลูกก็จะสัญญาว่า จะดูแลแม่ ให้ถึงที่สุด จะไม่ทำให้แม่เสียใจ จะไม่ให้แม่ต้องเหนื่อย และก้จะรักแม่มากกว่าที่รักตนเอง ให้แม่รู้เสมอ  ว่าลูกคนนี้ก็เป้นคนๆหนึ่งที่รักแม่สุดหัวใจ

วันอังคารที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

งานการปลูกผักของฉัน

         วันนี้เป็นวันที่จะต้องเอารูกผักที่ปลูกมาให้อาจารย์ดู  ซึ่งคนในห้องมี 43 คน แต่เอามากัน 23 คน
เยื่ยมมาก! ไม่เอามากัน 20 คน ส่วนฉันน่ะหรอ เอามาอยู่แล้ว ซึ่งคนที่ไม่เอามาก็โดนกอดคอลุกนั่ง 860 ที
แต่อาจารย์ใจดีจัด เหลือให 40 ที ถือเป็นบุญของพวกที่ไม่ได้เอามา ที่ไม่โดน 860 ที ส่วนความซวยก็ไม่วายมาที่พวกที่เอามา ซึ่งก็มีฉันอยู่ด้วย ด้วยที่อาจารย์หมันไส้พวกที่ เอาเก่ามาเล่าใหม่ ก็เลยให้พวกที่เอามา ปั่นจิ่งหรีด 6 รอบ ขวา 3 ซ้าย 3 แล้วพวกที่เอามาก็มึนกันไปเลย @_@


วันจันทร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

เครือข่ายคอมพิวเตอร์

เครือข่ายคอมพิวเตอร์


เครือข่ายคอมพิวเตอร์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือ คอมพิวเตอร์เน็ตเวิร์ก (อังกฤษ: computer network; ศัพท์บัญญัติว่า ข่ายงานคอมพิวเตอร์) คือเครือข่ายการสื่อสารโทรคมนาคมระหว่างคอมพิวเตอร์จำนวนตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไปสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ การเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่างๆในเครือข่าย (โหนดเครือข่าย) จะใช้สื่อที่เป็นสายเคเบิลหรือสื่อไร้สาย เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่รู้จักกันดีคือ อินเทอร์เน็ต การที่ระบบเครือข่ายมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในปัจจุบัน เพราะมีการใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างแพร่หลาย จึงเกิดความต้องการที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหล่านั้นถึงกัน เพื่อเพิ่มความสามารถของระบบให้สูงขึ้น และลดต้นทุนของระบบโดยรวมลง การโอนย้ายข้อมูลระหว่างกันในเครือข่าย ทำให้ระบบมีขีดความสามารถเพิ่มมากขึ้น การแบ่งการใช้ทรัพยากร เช่น หน่วยประมวลผล, หน่วยความจำ, หน่วยจัดเก็บข้อมูล, โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีราคาแพงและไม่สามารถจัดหามาให้ทุกคนได้ เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องกราดภาพ (scanner) ทำให้ลดต้นทุนของระบบลงได้ อุปกรณ์เครือข่ายที่สร้างข้อมูล, ส่งมาตามเส้นทางและบรรจบข้อมูลจะเรียกว่าโหนดเครือข่าย. โหนดประกอบด้วยโฮสต์เช่นเซิร์ฟเวอร์, คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและฮาร์ดแวร์ของระบบเครือข่าย อุปกรณ์สองตัวจะกล่าวว่าเป็นเครือข่ายได้ก็ต่อเมื่อกระบวนการในเครื่องหนึ่งสามารถที่จะแลกเปลี่ยนข้อมูลกับกระบวนการในอีกอุปกรณ์หนึ่งได้ เครือข่ายจะสนับสนุนแอปพลิเคชันเช่นการเข้าถึงเวิลด์ไวด์เว็บ, การใช้งานร่วมกันของแอปพลิเคชัน, การใช้เซิร์ฟเวอร์สำหรับเก็บข้อมูลร่วมกัน, การใช้เครื่องพิมพ์และเครื่องแฟ็กซ์ร่วมกันและการใช้อีเมลและโปรแกรมส่งข้อความโต้ตอบแบบทันทีร่วมกัน

ชนิดของเครือข่าย

ระบบเครือข่ายจะถูกแบ่งออกตามขนาดของเครือข่าย ซึ่งปัจจุบันเครือข่ายที่รู้จักกันดีมีอยู่ 6 แบบ ได้แก่
  • เครือข่ายภายใน หรือ แลน (Local Area Network: LAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้ในการ เชื่อมโยงกันในพื้นที่ใกล้เคียงกัน เช่นอยู่ในห้อง หรือภายในอาคารเดียวกัน
  • เครือข่ายวงกว้าง หรือ แวน (Wide Area Network: WAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้ในการ เชื่อมโยงกัน ในระยะทางที่ห่างไกล อาจจะเป็น กิโลเมตร หรือ หลาย ๆ กิโลเมตร
  • เครือข่ายงานบริเวณนครหลวง หรือ แมน (Metropolitan area network : MAN)
  • เครือข่ายของการติดต่อระหว่างไมโครคอนโทรลเลอร์ หรือ แคน (Controller area network) : CAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้ติดต่อกันระหว่างไมโครคอนโทรลเลอร์ (Micro Controller unit: MCU)
  • เครือข่ายส่วนบุคคล หรือ แพน (Personal area network) : PAN) เป็นเครือข่ายระหว่างอุปกรณ์เคลื่อนที่ส่วนบุคคล เช่น โน้ตบุ๊ก มือถือ อาจมีสายหรือไร้สายก็ได้
  • เครือข่ายข้อมูล หรือ แซน (Storage area network) : SAN) เป็นเครือข่าย (หรือเครือข่ายย่อย) ความเร็วสูงวัตถุประสงค์เฉพาะที่เชื่อมต่อภายในกับอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลชนิดต่างกันด้วยแม่ข่ายข้อมูลสัมพันธ์กันบนคัวแทนเครือข่ายขนาดใหญ่ของผู้ใช้

 อุปกรณ์เครือข่าย

  • เซิร์ฟเวอร์ (Server) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เครื่องแม่ข่าย เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์หลักในเครือข่าย ที่ทำหน้าที่จัดเก็บและให้บริการไฟล์ข้อมูลและทรัพยากรอื่นๆ กับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ใน เครือข่าย โดยปกติคอมพิวเตอร์ที่นำมาใช้เป็นเซิร์ฟเวอร์มักจะเป็นเครื่องที่มีสมรรถนะสูง และมีฮาร์ดดิสก์ความจำสูงกว่าคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ในเครือข่าย
  • ไคลเอนต์ (Client) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เครื่องลูกข่าย เป็นคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายที่ร้องขอ บริการและเข้าถึงไฟล์ข้อมูลที่จัดเก็บในเซิร์ฟเวอร์ หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ ไคลเอนต์ เป็นคอมพิวเตอร์ ของผู้ใช้แต่ละคนในระบบเครือข่าย
  • ฮับ (HUB) หรือ เรียก รีพีตเตอร์ (Repeater) คืออุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อกลุ่มคอมพิวเตอร์ ฮับ มีหน้าที่รับส่งเฟรมข้อมูลทุกเฟรมที่ได้รับจากพอร์ตใดพอร์ตหนึ่ง ไปยังพอร์ตที่เหลือ คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับฮับจะแชร์แบนด์วิธหรืออัตราข้อมูลของเครือข่าย เพราะฉะนั้นถ้ามีคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อมากจะทำให้อัตราการส่งข้อมูลลดลง
  • เนทเวิร์ค สวิตช์ (Switch) คืออุปกรณ์เครือข่ายที่ทำหน้าที่ในเลเยอร์ที่ 2 และทำหน้าที่ส่งข้อมูลที่ได้รับมาจากพอร์ตหนึ่งไปยังพอร์ตเฉพาะที่เป็นปลายทางเท่านั้น และทำให้คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับพอร์ตที่เหลือส่งข้อมูลถึงกันในเวลาเดียวกัน ดังนั้น อัตราการรับส่งข้อมูลหรือแบนด์วิธจึงไม่ขึ้นอยู่กับคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันนิยมเชื่อมต่อแบบนี้มากกว่าฮับเพราะลดปัญหาการชนกันของข้อมูล
  • เราต์เตอร์ (Router)เป็นอุปรณ์ที่ทำหน้าที่ในเลเยอร์ที่ 3 เราท์เตอร์จะอ่านที่อยู่ (Address) ของสถานีปลายทางที่ส่วนหัว (Header) ข้อแพ็กเก็ตข้อมูล เพื่อที่จะกำหนดและส่งแพ็กเก็ตต่อไป เราท์เตอร์จะมีตัวจัดเส้นทางในแพ็กเก็ต เรียกว่า เราติ้งเทเบิ้ล (Routing Table) หรือตารางจัดเส้นทางนอกจากนี้ยังส่งข้อมูลไปยังเครือข่ายที่ให้โพรโทคอลต่างกันได้ เช่น IP (Internet Protocol) , IPX (Internet Package Exchange) และ AppleTalk นอกจากนี้ยังเชื่อมต่อกับเครือข่ายอื่นได้ เช่น เครือข่ายอินเทอร์เน็ต
  • บริดจ์ (Bridge) เป็นอุปกรณ์ที่มักจะใช้ในการเชื่อมต่อวงแลน (LAN Segments) เข้าด้วยกัน ทำให้สามารถขยายขอบเขตของ LAN ออกไปได้เรื่อยๆ โดยที่ประสิทธิภาพรวมของระบบ ไม่ลดลงมากนัก เนื่องจากการติดต่อของเครื่องที่อยู่ในเซกเมนต์เดียวกันจะไม่ถูกส่งผ่าน ไปรบกวนการจราจรของเซกเมนต์อื่น และเนื่องจากบริดจ์เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานอยู่ในระดับ Data Link Layer จึงทำให้สามารถใช้ในการเชื่อมต่อเครือข่ายที่แตกต่างกันในระดับ Physical และ Data Link ได้ เช่น ระหว่าง Eternet กับ Token Ring เป็นต้น
บริดจ์ มักจะถูกใช้ในการเชื่อมเครือข่ายย่อย ๆ ในองค์กรเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายใหญ่ เพียงเครือข่ายเดียว เพื่อให้เครือข่ายย่อยๆ เหล่านั้นสามารถติดต่อกับเครือข่ายย่อยอื่นๆ ได้
  • เกตเวย์ (Gateway) เป็นอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่เชื่อมต่อเครือข่ายต่างประเภทเข้าด้วยกัน เช่น การใช้เกตเวย์ในการเชื่อมต่อเครือข่าย ที่เป็นคอมพิวเตอร์ประเภทพีซี (PC) เข้ากับคอมพิวเตอร์ประเภทแมคอินทอช (MAC) เป็นต้น



                                               ที่มา https://th.wikipedia.org.com

วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2558

วิดีโอเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง

หอมแผ่นดิน ตอน กล้าเปลี่ยนชีวิต

นกน้อย ดอนไพรเมือง มีวิถีชีวิตที่ไม่ต่างจากแรงงานรับจ้างคนอ­ื่นๆ หาเช้ากินค่ำเรื่อยมาหลายสิบปีแต่อาชีพแรงงานรับจ้างรายวัน ไม่สามารถสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำให้เธอไ­ด้ เธอจึงเลือกที่จะกู้เงินนอกระบบเพื่อมาลงท­ุนกับการเลี้ยงสัตว์ หวังเป็นเงินก้อนให้ครอบครัว แต่เมื่อทุกอย่างพังทลายลง บทเรียนและประสบการณ์ของความผิดพลาด สอนให้เธอเข้าใจคำว่า "พอ" มากขึ้น


https://www.youtube.com/watch?v=HEADSTGY3tI






หอมแผ่นดิน ตอน สิ่งที่ฝันกับสิ่งที่เป็น

ชีวิตของจุฑารัตน์ เสียมกำปังในฐานะเกษตรกร เริ่มต้นขึ้นหลังจากตัดสินใจลาออกจากอาชีพ พยาบาล อาชีพที่แม่ อยากให้เป็น 
ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของคนในครอบครัว นักเรียนเต็มเวลา อย่างจุฑารัตน์ เริ่มต้นการเป็นเกษตรกร โดยเริ่มต้นบทเรียนภาคสนามกับแม่ 
“เรามาทำตอนแก่ มันอาจจะหมดไฟ ความอยากรู้อยากเห็น อยากที่จะทดลอง หรืออยากที่จะพัฒนาต่างๆ มันอาจจะลดลง ตอนนี้มีพลังที่จะเรียนรู้ มีความกระตือลือล้นที่จะอยากรู้อยากเห็นตา­มวัย มันก็อาจจะเรียนรู้ได้มากกว่า”



                                    https://www.youtube.com/watch?v=ZmpVOya2O5E





หอมแผ่นดิน ตอน เกษตรพันธ์บ้า

คำครหาที่ถาโถมว่าบ้าทำให้ สุพรรณ เมธสาร ดูต่างจากเกษตรกรทั่วๆไป แต่เขาไม่ได้สนใจคำพูดแวดล้อม เพราะเขาคิดดีแล้วว่าสิ่งที่ลงมือทำนั้นได­้ผ่านการใคร่ครวญมาอย่างรอบคอบแล้ว วันนี้ทั้งการปลูกไผ่ และการทำนาแบบลอยน้ำ ที่สุพรรณลงมือทำได้พิสูจน์แล้วว่า สิ่งที่เขาเชื่อมั่น และลงมือทำด้วยความไตร่ตรองมาตลอดนั้น ได้ทำให้เขาแตกต่างจากเกษตรกรผู้ปลูกพืชเช­ิงเดี่ยวทั่วไป และสร้างความสำเร็จจนทำให้ผู้คนที่เคยสงสั­ยในสิ่งที่เขาทำนั้นรู้สึกทึ่ง และต้องหันกลับมาพิจารณาวิถีเกษตรของตนเอง­ใหม่..อีกครั้ง





https://www.youtube.com/watch?v=-K90r-csoOI



วันอังคารที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2558

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

 ซอฟต์แวร์

             
         ซอฟต์แวร์ ( software) หรือ ส่วนชุดคำสั่ง  หรือบางครั้งมีการสะกดว่า ซอฟท์แวร เป็นส่วนของระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการจัดเก็บและประมวลผลข้อมูล ซอฟต์แวร์นั้นนอกจากจะสามารถใช้งานบนคอมพิวเตอร์ได้แล้ว ยังสามารถใช้งานบนเครื่องใช้ หรืออุปกรณ์อื่น เช่น โทรศัพท์มือถือ หรือหุ่นยนต์ในโรงงาน หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ คำว่า "ซอฟต์แวร์" ใช้ครั้งแรกโดย จอห์น ดับเบิลยู. เทอร์กีย์ (John W. Turkey) ในปี พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) โดยแนวคิดของซอฟต์แวร์ปรากฏครั้งแรกในเรียงความของแอลัน ทัวริง บิดาของวิทยาการคอมพิวเตอร์กล่าวกันว่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ชิ้นแรกของโลกเขียนโดยเอดา ไบรอน เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับเครื่องวิเคราะห์ (analytical engine) ของชาร์ลส แบบเบจ

ความสัมพันธ์กับฮาร์ดแวร์
ซอฟต์แวร์ เป็นชื่อเรียกเพื่อใช้เปรียบต่างกับฮาร์ดแวร์ ซึ่งเป็นลักษณะทางกายภาพในการเก็บและประมวลผลของซอฟต์แวร์ ในคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์จะถูกเรียกใช้งานในแรมและประมวลผลผ่านซีพียู
ประเภทของซอฟต์แวร์

หน้าจอของโปรแกรมประยุกต์ เว็บเบราว์เซอร์ไฟร์ฟอกซ์
การแบ่งประเภทของซอฟต์แวร์แบ่งออกได้เป็นหลายแบบ เช่น
1.        การแบ่งเชิงเทคนิค อาจแบ่งซอฟต์แวร์เป็น 3 ประเภทหลักคือ
·         ซอฟต์แวร์ระบบ (System/Infrastructure software) ใช้ในการทำให้คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ทำงานกับระบบคอมพิวเตอร์ได้ โดยรวมถึงระบบปฏิบัติการ ไดรเวอร์ และระบบหลักของคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ
·         โปรแกรมประยุกต์ หรือซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application software) ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถดำเนินงานต่าง ๆ โดยทั่วไปเช่นโปรแกรมสำนักงาน ฐานข้อมูล คอมพิวเตอร์เกม เว็บเบราว์เซอร์ โดยโปรแกรมประยุกต์จะมีจียูไอ
·         โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Tools/Utilities) ประกอบไปด้วยเครื่องมือช่วยให้โปรแกรมเมอร์เขียนโปรแกรมอื่น ๆ หรือโปรแกรมประยุกต์ได้ เครื่องมือต่าง ๆ ประกอบไปด้วย คอมไพเลอร์ อินเตอร์พรีเตอร์ ดีบักเกอร์
2.        การแบ่งตามรูปแบบการส่งมอบ แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มคือ
·         ซอฟต์แวร์สำเร็จรูป (Package software) ซอฟต์แวร์ที่มีการขาย ให้เช่า หรือให้บริการ โดยคิดค่าบริการเป็น transaction หรือ license
·         ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาเงินเดือน (Outsources software development) เป็นการออกแบบและพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อใช้งานเฉพาะกับงานประเภทต่าง ๆ เฉพาะกิจกรรมไป ส่วนใหญ่ลิขสิทธิ์ของซอฟต์แวร์นี้จะเป็นของผู้ที่ว่าจ้างให้พัฒนาขึ้น
3.        การแบ่งตามประเภทของการนำไปใช้งานหลัก แบ่งได้เป็น 3 กลุ่มคือ
·         ซอฟต์แวร์ช่วยในการบริหารจัดการทั่วไป (Enterprise software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้กับการทำงานเพื่อแก้ปัญหา/จัดการทรัพยากรของ บุคคล/องค์กร เช่น ซอฟต์แวร์บัญชี ซอฟต์แวร์จัดทำเอกสาร เป็นต้น
·         ซอฟต์แวร์สำหรับอุปกรณ์พกพาขนาดเล็ก (Mobile applications software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำงานผ่านระบบปฏิบัติการพิเศษบนอุปกรณ์ขนาดเล็ก เช่น โทรศัพท์มือถือ PDA โดยสามารถแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ 2 กลุ่ม คือ (1) ซอฟต์แวร์เพื่อสนับสนุนธุรกรรมทางธุรกิจ (Business applications) เช่น Mobile banking, Mobile payment, GPS on Mobile, Mobile applications for business process management และ(2) ซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องกับนันทนาการและบันเทิง (Entertainment applications) ซึ่งรวมเกมบนโทรศัพท์เคลื่อนที่
·         ซอฟต์แวร์สมองกลฝังตัว (Embedded System Software) เป็นซอฟต์แวร์ซึ่งฝังอยู่ไว้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เพื่อใช้สำหรับควบคุมการทำงานของอุปกรณ์นั้นๆ เช่น ระบบ GPRS ระบบทำความเย็นอัจริยะ ระบบตรวจสอบย้อนกลับ เป็นต้น
ซอฟต์แวร์ กับ ไลบรารี
ซอฟต์แวร์แตกต่างกับไลบรารี คือซอฟต์แวร์สามารถนำมาประมวลผลได้ด้วยตัวเอง ในขณะที่ไลบรารีเป็นส่วนประกอบของซอฟต์แวร์และไม่สามารถนำมาใช้ประมวผลด้วยตนเองได้